ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง


ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง

3.ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง
นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกเสียงลงแผ่นเสียง เพลงลูกทุ่งครองตลาดเพลง ในปี พ.ศ. 2510เนื่องจากมีการบันทึกลงเทปแทนแผ่นเสียง และโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และต่อมาเพลงลูกทุ่งเริ่มเงียบหายลงไปเพราะการเมือง จนมาโด่งดังอีกครั้งในปี 2520 และหายไปอีกครั้งเพราะผลจากเศรษฐกิจ และในปี 2541 ธุรกิจในวงการลูกทุ่งก็กลับมาอีกครั้งกับนักร้องใหม่ๆ ธุรกิจแบบใหม่ ๆ
ในปัจจุบัน ธุรกิจลูกทุ่งมีฐานที่กว้างมากในตลาดวงการเพลง เป็นตลาดใหญ่ มีทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ เป็นจำนวนมาก การแข่งขันก็มากขึ้นเรื่อยๆ โดยสัดส่วนของเงินในตลาดเพลงลูกทุ่งครอง คาดการณ์น่าจะอยู่ที่ ปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท เฉพาะธุรกิจเพลงอย่างเดียวไม่รวมกับธุรกิจข้างเคียงอื่นๆ โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ภาคอีสาน 50% ภาคเหนือและภาคกลาง 35% และภาคใต้ 15% และสัดส่วนการแบ่งตลาด มีแกรมมี่ โกลด์ ครองส่วนแบ่งการตลาดเพลงลูกทุ่งทั่วประเทศ 65% ส่วนอาร์สยาม 19%และอื่นๆ 16% สำหรับตลาดรวมของธุรกิจในปี 2549 มูลค่าตลาดประมาณ 7,100 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9 จากปี 2548 และหากเปรียบเทียบกับตลาดเพลงอื่นแล้ว เพลงไทยสากลเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 รองลงมาคือเพลงลูกทุ่ง ร้อยละ 30 และเพลงสากล ร้อยละ 20
ในปัจจุบันมีศิลปินลูกทุ่งต่างออกผลงานเพลงเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการแข่งขันสูง บางศิลปินออกได้ชุดเดียวก็ไปเลย บางคนสองชุด บางคน 5-6 ปี และยังมีปัญหา ความตกต่ำของเศรษฐกิจ เทปผี ซีดีเถื่อนอีก จึงมีบางค่ายเพลงหันมาโปรโมตศิลปินแทนโปรโมตเพลง




สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์
รายการดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ รายการค้นหานักร้องลูกทุ่งทางโทรทัศน์
ด้านสื่อวิทยุ เดิมทีเพลงลูกทุ่งออกอากาศโดยคลื่นเอเอ็ม เพราะสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลมาก จนในปี 2540 ได้เกิดสถานีวิทยุเอฟเอ็มขึ้นคือสถานีลูกทุ่งเอฟเอ็ม แนวความคิดในการจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่งจึงเริ่มเปลี่ยนไป ลูกทุ่งเอฟเอ็มเป็นสถานีวิทยุเพลงลูกทุ่ง 24 ชั่วโมง โดยใช้วิธีรูปแบบไม่ให้ดูเชย ดูทันสมัย มีลักษณะรายการเหมือนเอ็มทีวี แต่เป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งต่อมาคลื่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีการจัดมอบรางวัลมาลัยทองคำขึ้นในปี 2544 และมีการเกิดมาของสถานีลูกทุ่งบนหน้าปัดเอฟเอ็มขึ้นอีกอย่าง ลูกทุ่งมหานครที่มีรูปแบบรายการโดยเน้นให้ดีเจเป็นเพื่อนกับคนฟัง ซึ่งฐานคนฟังคลื่นลูกทุ่งมหานคร มีคนฟังนาทีละ 300,000 คน จากทั่วประเทศในเครือข่ายของ อ.ส.ม.ท. โดยเน้นช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืน ตี3 และ ตี5 เพราะมีกลุ่มคนฟังที่ส่งของ ขับรถ ชาวสวนที่ตื่นแต่เช้า เป็นต้น
ทางด้านวงการโทรทัศน์จากที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในรายการวาไรอิตีโชว์ต่าง ๆ ก็มีรายการที่พัฒนาจาก การค้นหานักร้องลูกทุ่ง ที่มีเกิดขึ้นในเวทีการสรรหานักร้องลูกทุ่งเดิม ไม่ว่าจะเป็นเวทีตามอำเภอ ระดับจังหวัด จนมาสู่รายการเรียลลิตี้โชว์ แบบรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเซีย เดอะ สตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว เดอะ ซิงเกอร์ กับโครงการดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ เป็นต้น
ส่วนภาพยนตร์ไทย ก็มีการสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อกับเพลงลูกทุ่งอย่างภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ ในปี 2544 กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง และในปี 2545 สหมงคลฟิล์มมีภาพยนตร์ที่รวมนักร้องลูกทุ่งชั้นนำของเมืองไทยร่วม 168 ชีวิต ในภาพยนตร์เรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. และด้วยกระแสความโด่งดังของวงโปงลางสะออน กลุ่มศิลปินแนวลูกทุ่งดนตรีอีสาน มีผลงานภาพยนตร์อย่าง โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า ในปี 2550 ทำรายได้รวม 75 ล้านบาท

สินค้าสนับสนุนเพลงลูกทุ่ง
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงของตลาดเพลงลูกทุ่ง ทำให้สินค้าหลายประเภทต่างปรับกลยุทธ์ หาช่องทางทางด้านธุรกิจ อีกทั้งหน้าตาของเพลงทุ่งที่มีทิศทางที่ดูทันสมัยขึ้น ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจะมีสินค้าอุปโภคบริโภคที่เจาะกลุ่มตลาดล่าง ราคาถูก ต้องการขายในปริมาณมากๆ ซึ่งเพลงลูกทุ่งสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี จริงๆ แล้วรูปแบบที่เกิดกับเพลงลูกทุ่งนั้น ไม่แตกต่างจากวงการเพลงสตริงเลย คือมีเจ้าของสินค้าสนับสนุนศิลปินอยู่ แต่สำหรับตลาดเพลงลูกทุ่ง สินค้าจะมีความหลากหลายกว่า และเจาะกลุ่มลูกค้าคนละแบบ
สินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นสินค้าที่ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุดคือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน อย่าง เอ็ม150 ใช้งบประมาณในการจัดงานประมาณปีละ 70 ล้านบาท โดยการสนับสนุนศิลปินแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกเทป คอนเสิร์ต มิวสิกวิดีโอ โดยการรุกของสินค้าเข้าไปถึงทางด้านเนื้อเพลงด้วย อย่างเนื้อที่ว่า "คนดีอย่างเธอที่เป็น เซเว่นไม่มีให้ซื้อ" หรือ "รอเธอในร้านเคเอฟซี ที่คาร์ฟูร์" เป็นตัวอย่างเนื้อเพลงที่มีแบรนด์สินค้าเข้าไปปรากฏอยู่ชัดเจน และเพลงที่มีโทรศัพท์มือถือเข้ามาเกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นกระแสหลักของเพลงลูกทุ่งในช่วงหลัง ออกมาจำนวนมาก
ผู้คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ 27 ล้านคน จากผู้ใช้โทรศัพท์ทั้งประเทศ 45 ล้านคน ทางเอไอเอสใช้พรีเซ็นเตอร์นักร้องลูกทุ่ง 4 คน ที่ได้รับความนิยมคือ พี สะเดิด ฝน ธนสุนทร จากแกรมมี่ บ่าววี และ หลิว อาจารียา พรหมพฤกษ์ จากอาร์สยาม ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งคอนเสิร์ต โหวตศิลปิน และดาวน์โหลดเพลง ด้วยงบประมาณ 30-40 ล้านบาท และทางด้านทรูมูฟ คู่แข่งจะเพิ่มช่องทางขายซิมการ์ดโดยร่วมมือกับคลื่นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งทำรายได้ถึงร้อยละ 9.6 จากรายได้รวมของทรูมูฟ ทั้งหมด22,300 ล้านบาท
ทางด้านรถยนต์มี 2 รายที่ใช้เพลงลูกทุ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการตลาด คือ โตโยต้า ใช้ จินตหรา พูนลาภ และอีซูซุคือก๊อต จักรพรรณ์ ครบุรีธีรโชติ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น